สวัสดี ITA : การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ ของหน่วยงานภาครัฐ (ตอน 2 หลักการประเมิน)
สวัสดี ITA : การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ ของหน่วยงานภาครัฐ
(ตอน 2 หลักการประเมิน)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นการประเมินเชิงบวกที่ครอบคลุมการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ภาครัฐในทุกมิติ ตั้งแต่การบริหารงานของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน ตลอดจน ประเมิน “ระบบงาน” โดยเฉพาะกระบวนการเปิดเผยข้อมูล กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความโปร่งใส รวมถึง ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานและการให้บริการที่มีมาตรฐานและมีความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล รวมไปจนถึงการประเมิน “วัฒนธรรม” ในหน่วยงานที่มุ่งเน้น การสร้างเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริต และประเมินแนวทางในการป้องกันการทุจริตและการป้องกัน การปฏิบัติงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนประเมินผลการปฏิบัติงานในภาพรวมที่สะท้อน ได้จากการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ซึ่งล้วนแต่มีความสําคัญและ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะที่ดีในการดําเนินงานที่มีคุณธรรม และมีธรรมาภิบาล ที่หน่วยงาน ภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พึงจะต้องมีและยึดถือปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
กรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) แบ่งออกเป็น 5 ดัชนี ดังนี้ (1) ดัชนีความโปร่งใส (Transparency Index) (2) ดัชนีความพร้อมรับผิด (Accountability Index) (3) ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption – Free Index) (4) ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture Index) (5) ดัชนีคุณธรรมการทํางานในหน่วยงาน (Work Integrity Index)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) มี 3 เครื่องมือ ได้แก่ (1) แบบสํารวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT) เป็นการประเมินจากระบบการดําเนินงานของหน่วยงาน (2) แบบสํารวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) เป็นการสํารวจความคิดเห็น โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน (3) แบบ สํารวจความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) เป็นการสํารวจความคิดเห็น โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน